วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

กลวิทยาศาสตร์

ศึกษาดูงาน


ศึกษาดูงานที่ประเทศสิงคโปร์ค่ะ


















ปรากกฏการณ์ธรรมชาติ

10 ปรากฎการณ์ธรรมชาติน่าสนใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก toptenz.net, gakuranman.com

          ในโลกใบนี้มีปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่น่าสนใจให้เราได้รู้สึกฮือฮาและประหลาดใจอยู่มากมาย บางปรากฎการณ์ก็น่ากลัวเหลือร้าย ขณะที่บางปรากฎการณ์ก็งดงามจับใจอย่างไม่น่าเชื่อ และในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา บนโลกกลม ๆ ใบนี้ก็มีหลากหลายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติเกิดขึ้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำข้อมูลจากเว็บไซต์ Toptenz.net ว่าด้วยเรื่องของปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่น่าสนใจที่สุดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มาฝากกัน ไปดูกันหน่อยซิว่า ปรากฎการณ์ที่นับว่าเป็นเรื่องน่าสนใจนั้น มีปรากฎการณ์อะไรบ้าง



          1. ปรากฎการณ์ทะเลสาบเขม่าภูเขาไฟที่อาร์เจนตินา ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่ภูเขาไฟปูเยฮวยทางตอนใต้ของชิลี ได้ปะทุขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนปีก่อน ส่งผลให้เขม่าภูเขาไฟลอยไปตกในทะเลสาบที่อาร์เจนตินาซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้เคียง และฝุ่นเหล่านี้ก็ไม่ได้ละลายลงไปใต้น้ำด้วย จึงทำให้ทะเลสาบมีลักษณะอย่างที่เห็น คือเต็มไปด้วยฝุ่นผงจากภูเขาไฟ เปลี่ยนน้ำใสให้กลายเป็นทะเลสาบฝุ่นซะอย่างนั้น

10 ปรากฎการณ์ธรรมชาติน่าสนใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก

10 ปรากฎการณ์ธรรมชาติน่าสนใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก

          2. ปรากฎการณ์พายุฝุ่นยักษ์ ที่เมืองฟินิกซ์ รัฐแอริโซนาของสหรัฐฯ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว เมื่อพายุฝุ่นขนาดมหึมาได้โถมตัวเข้ากลืนกินเมืองฟินิกซ์ทั้งเมืองให้จมอยู่ในฝุ่นผง โดยมีรายงานว่าก่อนที่พายุทรายนี้จะโถมซัดเข้ามาในเมือง มันก่อตัวขึ้นสูงถึง 3 กิโลเมตรเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ดี ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากการถูกพายุพัด แต่ก็ทำให้เมืองทั้งเมืองเป็นอัมพาตไปชั่วคราว เนื่องจากไฟฟ้าดับ ต้นไม้ล้มระเนระนาด และเกิดอุบัติเหตุจากปัญหาเรื่องทัศนวิสัยในบางพื้นที่ ขณะที่ทางการรัฐแอริโซนาได้ออกมาเปิดเผยว่า มันเป็นพายุฝุ่นยักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพัดผ่านบริเวณนี้เลยทีเดียว



          3. ปรากฎการณ์พายุงวงช้างในออสเตรเลีย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากเกิดพายุทอร์นาโดใกล้กับชายหาดทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ปรากฎว่าเกิดพายุงวงช้างตามมาติด ๆ โดยปรากฎการณ์นี้เกิดจากมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่ผ่านผิวน้ำที่มีอุณหภูมิสูงกว่า จึงทำให้เกิดลมพัดเป็นเกลียวคลื่น พาละอองน้ำขึ้นสู่ท้องฟ้า นับเป็นปรากฎการณ์ที่เห็นได้ยาก และเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปี ของแถบนี้เลยทีเดียว


          4. ปรากฎการณ์น้ำวนขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น หลังจากเกิดสึนามิในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ทั้งโลกต่างให้ความสนใจไปที่ความรุนแรงและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย น้อยคนจะได้รู้ว่า หลังจากเกิดสึนามิเพียงไม่กี่ชั่วโมง ได้เกิดปรากฎการณ์น้ำวนขนาดใหญ่ขึ้นในทะเลใกล้ท่าเรือโออาราอิ ซึ่งปรากฎการณ์นี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของน้ำอย่างรวดเร็วทำปฏิกิริยากับชายฝั่งและพื้นทรายใต้ทะเลนั่นเอง

10 ปรากฎการณ์ธรรมชาติน่าสนใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก

          5. ปรากฎการณ์หิมะตกหนักในทะเลทรายที่เก่าแก่ที่สุดในโลก บริเวณทะเลทรายในประเทศนามิเบียในทวีปแอฟริกาใต้ เป็นดินแดนทะเลทรายที่มีหิมะตกทุก 10 ปี ในฤดูหนาว แต่ด้วยความแปรปรวนของสภาพอากาศบนโลก ทำให้มันตกลงมาหลังฤดูร้อนเพียงไม่นาน เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว นับเป็นปรากฎการณ์ที่สร้างความประหลาดใจให้กับผู้เชี่ยวชาญและชาวเมืองมาก แถมหิมะยังตกต่อเนื่องตั้งแต่เช้ายันบ่าย อุณหภูมิต่ำลงมากที่สุดถึง -7 องศาเซลเซียส หนาวสั่นแบบไม่ทันตั้งตัวเลยล่ะ

10 ปรากฎการณ์ธรรมชาติน่าสนใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก

          6. ปรากฎการณ์ฟองโฟมพัดเข้าชายฝั่งอังกฤษ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเขตคลีฟลีย์ เมืองลังคาเชียร์ของอังกฤษ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เมื่อฟองโฟมมหาศาลจากทะเลได้พัดเข้าชายฝั่งทะเล ทำให้เห็นเป็นฟองโฟมคาปูชิโนอย่างที่เห็น ส่วนสาเหตุที่เกิดปรากฎการณ์นี้นั้น ผู้เชี่ยวชาญได้อธิบายว่า  มันเกิดจากโมเลกุลไขมันและโปรตีนของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในทะเล ทำปฏิกิริยากันจนกลายเป็นฟองโฟม ก่อนจะพัดเข้าสู่ชายฝั่ง ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางรายก็ได้ออกมาอธิบายขัดแย้งกันว่า เกิดจากการเน่าเปื่ยของซากพืชซากสัตว์ในทะเล ทำปฎิกิริยากับสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น จนก่อให้เกิดเป็นโฟมเหล่านี้



          7. ปรากฎการณ์ทอร์นาโดไฟในบราซิล เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย แต่ก็ไม่ได้เว้นช่วงนานนัก มันเกิดจากการที่มีไฟไหม้ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ป่าตามธรรมชาติหรืออะไรก็ตาม จากนั้นมันก็ถูกกระแสลมม้วนตัวขึ้นสู่ที่สูง กลายเป็นทอร์นาโดไฟที่น่ากลัวอย่างที่เห็น

10 ปรากฎการณ์ธรรมชาติน่าสนใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก

10 ปรากฎการณ์ธรรมชาติน่าสนใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก

          8. ปรากฎการณ์ใยแมงมุมคลุมต้นไม้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปากีสถานเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว แน่นอน มันเกิดจากการที่แมงมุมนับล้านตัวมาร่วมกันชักใยบนต้นไม้ แต่ทำไมมันต้องมาอยู่บนต้นไม้คราวละเป็นล้านอย่างนี้ล่ะ? เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญเฉลยว่า เจ้าแมงมุมนับล้านเหล่านี้มันหนีน้ำท่วมครั้งใหญ่นั่นเอง เลยจำเป็นต้องมารวมตัวกันในที่สูง ๆ ไว้อย่างที่เห็นนี่แหละ



          9. ปรากฎการณ์เสียงจากทะเลน้ำแข็ง ไม่รู้จะอธิบายอย่างไรให้นึกภาพนึกเสียงออก เอาเป็นว่าลองชมคลิปวิดีโอนี้ดูสักหน่อย มันเป็นปรากฎการณ์ที่ความเย็นของน้ำแข็งและน้ำเย็นเฉียบ ทำปฎิกิริยากับสภาพอากาศเบื้องบนที่อุ่นกว่า เลยเกิดเสียงอย่างที่ได้ยินจากคลิปนี้ เหมือนกับเวลาที่เรานำขวดน้ำเย็นปิดฝาเกือบสนิทมาวางไว้นอกตู้เย็นนั่นแหละ


10 ปรากฎการณ์ธรรมชาติน่าสนใจที่เกิดขึ้นทั่วโลก

          10. ปรากฎการณ์ไอน้ำบนทะเลดำ เกิดขึ้นในทะเลดำที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรปและเอเชียไมเนอร์ ที่เมื่อมันมีอุณหภูมิต่ำมาก ๆ ก็จะทำให้เกิดไอน้ำลอยขึ้นไปเหนือน้ำ บางครั้งก็งดงามจนเหมือนมีใครเอาน้ำแข็งแห้งไปวางไว้เลยทีเดียวล่ะ

          อย่างไรก็ดี ปรากฎการณ์ที่น่าสนใจบนโลกใบนี้ ไม่ได้มีเพียง 10 ปรากฎการณ์ข้างต้นเท่านั้น และจริง ๆ แล้ว ธรรมชาติก็สร้างปรากฎการณ์มหัศจรรย์ให้เกิดขึ้นได้เสมอ อยู่ที่ว่าเราจะสังเกตเห็นมันหรือเปล่า เอ้า.. คราวนี้ เราลองมามองรอบตัวกันบ้างดีกว่า ว่าในแต่ละวันนั้น มีปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่น่าประทับใจรูปแบบไหนที่เกิดขึ้นบ้าง ฮิฮิ


การขยายพันธุ์พืช


การขยายพันธุ์พืช

      การขยายพันธุ์พืช คือการเพิ่มจำนวนต้นพืชให้ได้จำนวนมากพอกับ
ปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้น  โดยพืชต้นใหม่ที่ได้ยังคงลักษณะของพันธุ์ และคุณสมบัติที่ดีไว้เหมือนเดิม อาจกล่าวได้ว่า การขยายพันธุ์พืชเป็นการช่วย
รักษาลักษณะที่ดีของพันธุ์ไว้ไม่ให้สูญหาย 


การขยายพันธุ์พืชมี 2 แบบ คือ

       1. แบบอาศัยเพศ
       2. แบบไม่อาศัยเพศ
                       
การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ จะใช้ดอกเป็นอวัยวะ
                                    สืืบพันธุ์      กุ๊กไก่อยากให้เพื่อนๆ ศึกษาถึง
                                    ส่วนประกอบของดอกไม้ ต่อไปนี้


                          

















                                     ภาพแสดง    ส่วนประกอบของดอกไม้



ส่วนที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศ
      ดอกไม้ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ เรียงจากชั้นนอกเข้าสู่ชั้นในที่สำคัญๆ
4 ส่วนได้แก่
      กลีบเลี้ยง (speal)  ส่วนนี้จะอยู่นอกสุด โดยเปลี่ยนแปลงเจริญมาจากใบ มีขนาดเล็กมีสีเขียว ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ดอกไม้ขณะตูม
      กลีบดอกไม(Petal)   ส่วนนี้อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้าไป มีขนาดใหญ่กว่า
กลีบเลี้ยง ซึ่งมีสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอม ทำหน้าที่ล่อแมลงเพื่อช่วยผสมเกสร
       เกสรตัวผู้ (Stamen)   ส่วนนี้อยู่ถัดจากกลีบดอกเข้าไป ทำหน้าที่เป็น
เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ มักมีหลายอันรวมกัน มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่คือ
             1. ก้านชูอับเรณ  มีลักษณะแท่งยาวทรงกระบอก มีหน้าที่ชูอับละอองเรณู
             2. อับเรณู   เป็นเม็ดเล็กๆ อยู่บนก้านชูอับเรณู   ภายในอับเรณูจะมีละออง
เรณูอยู่มากมาย มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายผงสีเหลือง
             3. ละอองเรณู   อยู่ภายในอับเรณู ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้
       เกสรตัวเมีย (Pistill)  ส่วนนี้อยู่ชั้นในสุด   ทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
              1. ยอดเกสรตัวเมีย    ส่วนนี้จะมีขนเส้นเล็กๆ    และมีน้ำหวานเหนียว ๆ สำหรับดักจับละอองเรณู รวมทั้งยังใช้เป็นอาหารสำหรับการงอกของหลอดละอองเรณู
              2. ก้านเกสรตัวเมีย ส่วนนี้จะทำหน้าที่ชูยอดเกสรตัวเมียให้อยู่ในระดับสูงๆ
เพื่อประโยชน์ในการผสมพันธุ์     นอกจากนี้ยังเป็นทางให้ละอองเรณูแทงหลอดเรณู
ลงไปเพื่อให้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้เข้าผสมกับเซลล์ไข่ได้
              3. รังไข่   ส่วนนี้มีออวุล ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ บรรจุอยู่ภายใน
รังไข่หนึ่งอาจมี 1 ออวุล    หรือหลายออวุล ก็ได้ ภายในออวุี่ลเป็นแหล่งสร้าง
เซลล์ไข่ซึ่งทำหน้าที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย 


                 เพื่อนๆคิดว่าดอกไม้แต่ละชนิดมีลักษณะของส่วนประกอบ
                    เหมือนกันหรือไม่ กุ๊กไก่ขอให้เพื่อนๆช่วยสำรวจดอกไม้ที่มีอยู่ใน
                    บริเวณบ้านหรือใกล้บ้านมาคนละ 3 ชนิด พร้อมวาดส่วนประกอบ
                    และชี้บอกส่วนประกอบ พร้อมระบายสีด้วยได้ยิ่งดีลงในกระดาษ
                    ดังตัวอย่างต่อไปนี้ แล้วอย่าลืมนำไปให้ครูและเพื่อนๆได้ชมด้วย

ดอกแพงพวยดอกจำปีดอกต้อยติ่ง

                                  ภาพแสดง    ตัวอย่างส่วนประกอบของดอก




       
กระบวนการในการขยายพันธุ์ของพืชดอก

เมื่อละอองเรณูเจริญเติบโตเต็มที่แล้วอับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณู
กระจายไปติดอยู่บนยอกเกสรตัวเมีย    ซึ่งมีของเหลวเหนียวเคลือบอยู่ เรา
เรียกกระบวนการที่ละอองเรณูไปติดอยู่บนยอดเกสรตัวเมียนี้ว่า     การถ่าย
ละอองเรณ
ู   ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในดอกเดียวกัน    หรือระหว่างดอกภายในต้น
เดียวกัน หรือข้ามต้นก็ได้     ปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดเช่น  ลม  น้ำ  คน
หรือสัตว์ต่าง ๆ อาจช่วยให้ละอองเรณูกระจายไปไกลๆ ได้



                               ภาพแสดง      การถ่ายละอองเรณูแบบข้ามดอกโดยแมลง


        แมลงมีบทบาทสำคัญมากในการถ่ายละอองเรณูของพืชดอก  ขณะที่แมลง
ตอมดอกไม้เพื่อดูดกินน้ำหวานในดอกไม้ ละอองเรณูจะติดไปกับส่วนต่างๆของ
แมลง เช่น ปีก ขา และส่วนปาก เมื่อแมลงบินไปเกาะดอกไม้อื่น ๆ       ก็จะนำ
ละอองเรณู  ไปติดที่ยอดเกสรตัวเมียของดอกนั้น ทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณู
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช  ในปัจจุบันทำให้แมลงหลายชนิดทั้งที่เป็นประโยชน์
และเป็นโทษก็จะตายไป


                         ภาพแสดง    การถ่ายละอองเรณูจะติดไปกับส่วนต่างๆ ของแมลง


                    เพื่อนๆ คิดว่าการใช้สารเคมีทำลายแมลงจำนวนมาก
                                อย่างรวดเร็ว    ก่อให้เกิดปัญหาอย่างไร และจะมีวิธี
                                ป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
                               
        

        เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรตัวเมียแล้วจะเกิดการงอกเป็นหลอด แทง ผ่านยอดและก้านเกสรเพศเมียจนกระทั่งถึงรังไข่ ดังในภาพ ภายในหลอดนี้จะมีี้
เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้    ซึ่งจะเข้าไปผสมกับเซลล์ไข่ภายในออวุล  เรียกกระบวนการ
นี้ว่า การปฏิสนธิ   ต่อจากนั้นออวุลจะเจริญเป็น  เมล็ด  ซึ่งภายในจะมี ต้นอ่อน 
หรือ
  เอ็มบริโอ   และอาหารเลี้ยงเอ็มบริโอจะอยู่ภายในเมล็ด   ส่วน  รังไข่  จะ
เจริญเป็น  ผล โดยทั่วไปแล้ว      หลังจากการปฏิสนธิ ส่วนอื่นๆของดอกไม้ เช่น
กลีบดอก เกสรเพศผู้ ยอดเกสรเพศเมียจะเหี่ยวและหลุดร่วงไปในที่สุด

                                   ภาพแสดง    การงอกของหลอดละอองเรณู                 



                   เพื่อน ๆ บอกกุ๊กไก่ได้ไหมค่ะว่า การที่ผลไม้บางชนิด
                     เช่น มะละกอและฝรั่ง มีหลายเมล็ดส่วนผลไม้บางชนิดมีเพียง
                     เมล็ดเดียวเพื่อนๆคิดว่าเกี่ยวข้องกับ จำนวนออวุลในรังไข่ของ
                    พืชหรือไม่อย่างไร


           มนุษย์เราได้นำเมล็ดพืชมาขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด   ซึ่งเป็นวิธีที่
ง่ายที่สุดในการขยายพันธุ์ซึ่งจะได้พืชต้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ต้องใช้เวลานาน
ในการเจริญเติบโตจนกระทั่งออกผล และต้นใหม่ที่ได้มักมีลักษณะที่แตกต่างไป
จากต้นเดิม 


           ปัจจัยในการงอกของเมล็ด
           1. น้ำ   เมื่อเมล็ดถูกน้ำ น้ำจะผ่านเปลือกนอกของเมล็ดเข้าไปทำให้
ต้นอ่อนเจริญเติบโต รากของเมล็ดจะแทงออกมาได้ง่าย จากนั้นเมล็ดจะเริ่ม
พองตัวและมีแรงดันภายในมากขึ้นนจนทำให้เปลือกเมล็ดแตกออก  ต้นอ่อน
ก็จะเจริญออกมานอกเมล็ด  
            2. แก๊สออกซิเจน       ขณะที่เมล็ดเริ่มงอกจะต้องการออกซิเจนใน
ปริมาณมากเพื่อนำไปใช้ในกระบวนการหายใจ       และสร้างพลังงานมาใช้
ในการเจริญเติบโตของต้นอ่อน
            3. อุณหภูมิที่เหมาะสม  เมล็ดจะเจริญงอกงามได้ดีในที่ที่มีอุณหภูมิ
ประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เพราะอุณหภูมิที่เหมาะนี้จะช่วยทำให้
เอนไซม์ย่อยอาหารในเอนโดสเปริม์ได้อย่างเต็มที่
            4. อาหาร แหล่งอาหารของเมล็ดที่งอกใหม่ๆ จะอยู่ที่เอนโดสเปิร์ม
หรือใบเลี้ยง

                        
                 เพื่อน ๆ ช่วยบอกกุ๊กไก่หน่อยว่าผลผลิตที่ได้จากการ
                      ขยายพันธุืพืช โดยการใช้เมล็ดจะเป็นอย่างไร




การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ

      การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ    เป็นวิธีการนำเอาส่วนต่างๆ ของพืชเช่น
ลำต้นใต้ดินของข่า ไหลของใบบัวบก รากของกระชาย ใบของเศรษฐีเงินหมื่น       นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์พืชโดยการ   การตอน  การปักชำ การติดตา
การต่อกิ่ง การทาบกิ่ง วิธีการดังกล่าวเป็นการดำรงลักษณะที่ดีของพืชนั้นไว้

ลำต้นใต้ดินของข่ารากของกระชายไหลของใบบัวบกใบของเศรษฐีเงินหมื่น

                                  ภาพแสดง    ส่วนของพืชที่ใช้ในการขยายพันธุ์
  

       การตอน    เป็นวิธีการขยายพันธุืพืชโดยใช้กิ่งของพืช ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
             1. เลือกกิ่งที่สมบูรณ์ไม่อ่อนแอและไม่แก่เกินไป ใบงาม ไม่มีโรค
หรือแมลงทำลาย ได้รับแสงแดดสม่ำเสมอ
             2. ควั่นกิ่งระหว่างข้อ เพื่อตัดท่อลำเลียงอาหาร ทำให้อาหารเลี้ยงเฉพาะ
กิ่งที่ตอน และเกิดรากบริเวณรอยควั่น
             3. ทาฮอร์โมนเร่งรากบริเวณรอยควั่น
             4. หุ้มกิ่งตอนด้วยดินและวัสดุที่เก็บควรชุ่มชื้นได้ดี    เช่น กาบมะพร้าว
ผ้ากระสอบ ป่าน รากผักตบชวา       พันหรือหุ้มกิ่งให้แน่นพอสมควร อย่าให้หมุน
ไปมาได้ง่าย พยายามให้กลางกระเปาะวัสดุที่หุ้มอยู่ตรงบริเวณที่จะออกรากด้วย
             5. รักษาความชุ่มชื้นอยู่เสมอ     โดยการฉีกน้ำเข้าไปในกระเปาะที่หุ้ม
กระเปาะประมาณ 5-7 ครั้ง / วัน
             6. ตัดกิ่งตอนปลูกในกระถาง เลี้ยงไว้จนกระทั่งเห็นว่ากิ่งตอนแข็งแรง
จึงนำไปปลูกในบริเวณที่กำหนด


             พืชที่นิยมใช้ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง เช่น   มะม่วง   ลำไย   ลิ้นจี่ 
ส้มเขียวหวาน ส้มโอ กระท้อน กุหลาบ ละมุด เป็นต้น             
        การปักชำ  เป็นการทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากหลังจากที่ตัดกิ่งหรือต้นออกจากต้นแม่แล้ว การปักชำมีขั้นตอนดังนี้
              1. เลือกกิ่งที่มีตาและใบ เพราะใบช่วยสร้างอาหารและฮอร์โมน ช่วยในการออกรากให้แก่กิ่งปักชำ
              2. จัดวางกิ่งปักชำให้ถูกต้องตามหัวท้ายของกิ่งถ้าวางกลับทิศทางจะ
ทำให้ กิ่งไม่เกิดรากและไม่เกิดยอด
              3. ทำแผลโคนกิ่ง เพื่อให้กิ่งมีเนื้อที่ที่จะเกิดรากได้มากขึ้น
              4. ทาหรือนำกิ่งจุ่มฮอร์โมนและสารกระตุ้นบางอย่างช่วยในการเกิดราก
              5. นำกิ่งไปปักชำในวัตถุที่เตรียมไว้
              6. รักษาความชื้นและแสงสว่างที่วางกิ่งปักชำ
              7. ดูแลรดน้ำให้ชุ่มจนกว่าจะเกิดราก

         พืชที่นิยมใช้ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ ได้แก่ พืชประเภทดอกไม้ประดับ
และผลไม้ เช่น อ้อย พลูด่าง โป๊ยเซียน มะนาว
         นอกจากการตอนกิ่ง  และการปักชำแล้ว    ยังมีการขยายพันธุ์พืชโดยใช ้
การเชื่อมส่วนของต้นพืชเข้าด้วยกัน   เพื่อให้ส่วนของพืชนั้นๆ ติดกันและเจริญ
ต่อไปเหมือนกับเป็นต้นพืชต้นเดียวกัน   ส่วนของต้นพืชที่ต่ออยู่ทางส่วนบนหรือ
ทำหน้าที่เป็นราก เรียกว่า กิ่งพันธุ์ดี     และส่วนของพืชที่ต่ออยู่ทางส่วนล่างหรือ
ทำหน้าที่เป็นราก  เรียกว่า ต้นตอ    วิธีการนี้แบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ   การติดตา  
การต่อกิ่ง   และการทาบกิ่ง  พืชที่นิยมใช้ขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีนี้ ได้แก่ มะม่วง
ส้มเขียวหวาน กุหลาบ พุทธา ขนุน เป็นต้น

การเสียบกิ่งการทาบกิ่งการตอนการติดตา

                                        ภาพแสดง     การขยายพันธุ์พืชโดยวิธีการต่างๆ



เทคโนโลยีชีวภาพในการเพิ่มผลผลิตพืช


        ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามาก นักวิทยาศาสตร์
ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วยในการขยายพันธุ์  และปรับปรุงพันธุ์พืช เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตพืช    และปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรให้ได้
คุณลักษณะตามที่มนุษย์ต้องการ

         เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)      คือการนำเอาสิ่งที่มีชีวิตหรือ
ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตได้แก่ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ความรู้หรือเทคนิควิธีการทางวิทยาศาสตร์   โดยเฉพาะกระบวนการทาง
ชีววิทยาศาสตร์เพื่อผลิตสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
         เทคโนโลยีชีวภาพแบ่งออกเป็น 2 แบบกว้าง ๆ คือ
         1. เทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม   เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่มนุษย์รู้จักกัน
มานานไม่ต้องใช้เทคนิควิธี    การทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางชีววิทยา
ชั้นสูงมากนัก   เช่น     การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในกระบวนการทางชีววิทยา
ในการหมักดองอาหารและการผลิตปุ๋ยหมัก การใช้สิ่งมีชีวิตในการควบคุมกำจัด
ศัตรูพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
         2. เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่  เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่ต้องใช้ความรู้ทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิควิธีการทางชีววิทยาชั้นสูง  เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการ
ตัดแต่งสารพันธุกรรมเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเพื่อก่อให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต    ตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
ได้แก่ การโคลนนิ่ง การตัดต่อจีนในสิ่งมีชีวิต เป็นต้น
         สำหรับเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชใน
ปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และ GMOs

         การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
         การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นเทคโนโลยีการขยายพันธุ์พืช  เพื่อให้ได้จำนวน
มากในระยะเวลาอันสั้น โดยเป็นการเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเฉพาะส่วนเท่านั้น ไม่ใช้่
พืชทั้งต้น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช   ทำโดยนำเอาเนื้อเยื่อของพืชในส่วนที่กำลัง
เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว    เช่น ที่ปลายยอดอ่อน   ตาข้าง ดอก ใบ เนื้อเยื่อ หรือ
ส่วนประกอบของพืชที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญมา เพาะเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ที่อยู่ใน
สภาวะปลอดเชื้อ ซึ่งเป็นอาหารที่เนื้อเยื่อนั้นต้องการ  พร้อมทั้งสารที่กระตุ้น โดย
จัดและควบคุมสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ปลอดเชื้อ มีอุณหภูมิ ความชื้น และ
แสงสว่าง ที่ต้องเอื้อต่อชิ้นส่วนของพืชจะเจริญเติบโตได้
         การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อนั้น ๆ    ทำให้เซลล์ของพืชแบ่งตัวเพิ่มจำนวน
มากมายเป็นกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า  แคลลัส (Callus)         เราจึงสามารถบังคับให้
เนื้อเยื่อนี้เจริญเติบโตขึ้นเป็นต้นอ่อนได้เมื่อมีสภาวะที่ เหมาะสมและแบ่งเนื้อเยื่อ
เหล่านี้ ไปเลี้ยงในอาหารใหม่จนเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่จำนวนมากมายตามต้อง
การ  วิธีนี้ใช้กันมากในการกระจายพันธุ์พืชบางชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เช่น กล้วยไม้ หน้าวัว ต้นสัก หวาย กล้วย ข้าว เป็นต้น
         การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงพันธุ์    เพื่อให้พืชผลิตสาร
สำคัญบางชนิด เช่น   ยารักษาโรค หรือเพื่อให้ได้พืชที่มีลักษณะพึงประสงค์   เช่น การใช้สารเคมีหรือรังสี   ชักนำให้พืชที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไว้เกิดการกลายพันธุ์ ซึ่ง
อาจทำให้ได้ดอกหรือผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

ใช้ส่วนต่างๆเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์เลี้ยงในเรือนเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนำต้นใหม่มาปลูกในกระถาง


          GMOs     (Genetic Modified Organism)
          เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่กำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบัน ได้แก่การใช้
วิธีทางพันธุวิศวกรรม โดยการตัดต่อ จีน (Gene) ที่เรียกว่า GMOs เป็นการ
ดัดแปลงสารพันธุกรรมหรือการตัดแต่งจีน      โดยการตัดเอาชิ้นส่วนของจีนที่
ต้องการของพืช สัตว์     หรือจุลินทรีย์ไปใส่ในโครโมโซมภายในเซลล์ของพืช เพื่อให้เกิดเซลล์ใหม่ แล้วนำเซลล์ใหม่ไปเพาะเลี้ยง จะได้พันธุ์พืชที่มีจีนซึ่งมีี
คุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น คุณสมบัติในการต้านทานต่อสารเคมี คุณสมบัติ
ในการต้านทานแมลง เป็นต้น พืชที่ได้เรียกว่า พืชจำลองพันธุ์   พืชที่นำมาใช้
ในการตัดแต่งจีนในปัจจุบัน ได้แก่ ฝ้าย มะเขือเทศ มะละกอถั่วเหลือง ข้าวโพด
เป็นต้น


                เพื่อนๆ คิดว่าเทคโนโลยีชีวภาพจะช่วยในการอนุรักษ์พืช
                   บางชนิด เช่นสมุนไพร พืชที่หายาก และพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ได้
                    อย่างไร ช่วยอธิบายให้กุ๊กไก่ทราบด้วย



        จะเห็นว่าการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการขยายพันธุ์และปรับปรุง
พันธุ์พืชนั้น        เราสามารถคัดเลือกพันธุ์โดยเจาะจงไปที่จีนที่ต้องการโดยตรง โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ก่อนแล้วคัดเลือกลูกผสมที่มีลักษณะตามที่ต้องการภายหลัง
ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องใช้เวลานานดังนั้น     การนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้กับพืช
จึงสามารถกำหนดคุณสมบัติของพืชได้ตามที่เราต้องการ     ทำให้ได้ประโยชน์
มากมายตามมา    อาจกล่าวถึงประโยชน์ของการนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมา
ใช้ในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุืพืชโดยสรุปดังนี้
         1. ทำให้ได้พันธุืพืชที่มีคุณสมบัติต้านทานสารเคมี ช่วยลดการใช้สารเคมี
ทำให้ประหยัดต้นทุน และยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วย
         2. ทำให้เกิดพันธุ์พืชที่ต้านทานแมลง   ช่วยลดการใช้สารเคมี    ประหยัด
ต้นทุน และรักษาสภาพแวดล้อม เช่ น ฝ้าย มะเขือเทศ เป็นต้น
         3. ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวสามารถเก็บรักษาได้นาน   เนื่องจากมีคุณสมบัติใน
การสุกงอมช้า จึงขนส่งได้ไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น กล้วย มะเขือเทศ เป็นต้น
         4. ทำให้ได้พันธุ์พืชที่ต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรีย ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดียิ่งขึ้น
         5. ทำให้ได้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตจำนวนมากและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพ
แวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

          แม้ว่าการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการขยายพันธุ์   และปรับปรุง
พันธุ์พืชจะมีประโยชน์มากมาย   แต่ก็จำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิด
ขึ้นในอนาคตด้วย  เช่น     พืชชนิดหนึ่งมีการตัดแต่งจีนให้มีความทนทานต่อ
สารกำจัดวัชพืช ลักษณะของพืชนี้อาจจะแพร่กระจายไปสู่พืชหรือจุลินทรีย์อื่น
ทำให้เกิดการดื้อต่อสารกำจัดวัชพืชหรือจุลินทรีย์อื่น      ทำให้เกิดการดื้อต่อ
สารกำจัดวัชพืชนั้นไปด้วยหรือการใช้พืชพันธุ์ใหม่ ที่ตัดแต่งจีนทำให้พืชพันธุ์
ดั้งเดิมสูญพันธุ์ไป      สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้อง
คำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น   การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้้ในการขยายพันธุ์
และปรับปรุงพันธุ์พืช จึงต้องนำมาใช้อย่างรอบคอบและระมัดระวังเพื่อป้องกัน
ผลเสียและปัญหาที่จะตามมาในอนาคต

          ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพได้เข้ามีบทบาท  และสามารถตอบสนองความ
ต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น   เพราะนอกจากการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้
ประโยชน์ในการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืช  แล้วยังสามารถนำมาใช้ในด้าน
อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น 
          การเกษตร   เราสามารถพัฒนาและปรับปรุงพันธุืพืชเพื่อให้ได้คุณลักษณะ
ของพืชที่ดีตามที่มนุษย์ต้องการ เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีลักษณะทนต่อความ
แห้งแล้งได้ดี สามารถปลูกในที่ที่ขาดน้ำซึ่งเป็นการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความ
สามารถในการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ไม่ี่เหมาะสม      นอกจากนี้ยัง
สามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร   เช่น   สี   และขนาด  
รวมถึงรูปร่างผลผลิต เพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการได้อีกด้วย เช่น การปรับปรุง
พันธุ์มะเขือเทศให้มีสีแดงสดและมีปริมาณเนื้อมะเขือเทศสูง เป็นต้น นอกจากนี้
ยังทำให้สามารถเก็บรักษาผลผลิตให้อยู่ได้นานเนื่องจากการสุกงอมช้า   สามารถ
ส่งไปขายได้ไกลโดยไม่เน่าเสีย   เช่น มะเขือเทศที่ยืดอายุการสุกงอม เป็นต้น
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรได้    เนื่องจากสามารถยืดระยะเวลา
ไม่ให้เกิดความเสียหายในการขนส่งระยะทางไกลได้
          อุตสาหกรรม     เทคโนโลยีชีวภาพถูกนำมาใช้ในด้านอุตสาหกรรมการ
ผลิตเครื่องดื่ม ประเภทแอลกอฮอล์ โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ในการ
เปลี่ยนแป้งและน้ำตาลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ  เรียกกระบวนการนี้ว่า
การหมักดอง เช่น ไวน์ เบียร์ เกิดจากการหมักแป้งและน้ำตาลด้วยยีสต์ เป็นต้น
          การผลิตอาหาร     ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพมีบทบาทสูงมากในการยก
ระดับมาตรฐานการผลิตอาหารให้มีคุณภาพสูงขึ้น       การนำผลิตภัณฑ์จากพืช
จำลองพันธุ์มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารจะช่วยให้ได้คุณภาพของอาหาร
ตามที่มนุษย์ต้องการ เนื่องจากสามารถเพิ่มปริมาณสารประกอบที่ต้องการได้
เช่น    การผลิตอาหารเพื่อเพิ่มวิตามินหรือเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ เพื่อให้อาหารมี
คุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น เป็นต้น
          การแพทย์    เทคโนโลยีชีวภาพที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์ คือ   การผลิตยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ขัดขวางการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์
ที่ทำให้เกิดโรค   นอกจากนี้เทคโนโลยีชีวภาพยังช่วยให้สามารถผลิตวัคซีนใช้
สำหรับป้องกันโรคได้อีกด้วย ตัวอย่างผลผลิตของเทคโนโลยีชีวภาพที่รู้จักกันดี
ได้แก่ อินซูลิน   ซึ่งเป็นสารควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็น
โรคเบาหวาน เป็นต้น
           



    

   

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ดวงดาวในระบบสุริยะจักวาล


ดวงดาวในระบบสุริยะจักวาล








ดวงอาทิตย์ (The Sun)

ดวงอาทิตย์เป็นส่วนสำคัญที่สุดของระบบสุริยะ เป็นผู้ดึงดูดให้ดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงอยู่ในตำแหน่งที่เป็นอยู่และดวง อาทิตย์ยังให้แสงและความร้อนกับดาวเคราะห์นั้นด้วย ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ระบบสุริยะก็จะมืดมิดและหนาวเย็น เมื่อผ่าดวงอาทิตย์ออกมาเป็นชิ้นภายในดวงอาทิตย์นั้นไม่ได้แข็งเหมือนโลก ดวงอาทิตย์เป็นกลุ่มก๊าซดวงใหญ่ที่ลุกเป็นเปลวไฟ ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม ดวงอาทิตย์ไม่ได้เผาไหม้ด้วยการเปลี่ยนก๊าซไฮโดรเจนเป็นก๊าซฮีเลียม ดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ร้อนที่สุดในรบบสุริยะที่ใจกลาง ดวงอาทิตย์จะร้อนถึง15 ล้านองศาเซลเซียส ความร้อนขนาดนี้เพียงก้อนโตเท่าหัวเข็มหมุดก็จะทำให้คนที่ยืนอยู่ห่าง 150 กิโลเมตรตายได้ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของระบบสุริยะ เนื้อสารส่วนใหญ่ของระบบสุริยะอยู่ที่ดวงอาทิตย์ คือ มีมากถึง 99.87% เป็นมวลสารดาวเคราะห์รวมกันอย่างน้อยกว่า 0.13% ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์อื่น ๆ บนฟ้า แต่เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด จึงปรากฏเป็นวงกลมโต บนฟ้าของโลกเพียงดวงเดียว ดาวฤกษ์อื่นปรากฎเป็นจุดสว่าง เพราะอยู่ไกลมาก ขนาดที่แท้จริงโตกว่าโลกมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 109 เท่าของโลก ดวงอาทิตย์สร้างพลังงานขึ้นมาเองโดยการเปลี่ยนเนื้อสารเป็นพลังงานตามสมการ ของไอน์สไตน์ E = mc2 (E คือพลังงาน, m คือ เนื้อสาร, และ c คือ อัตราเร็วของแสงสว่างในอวกาศซึ่งมีค่าประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที) บริเวณที่เนื้อสารกลายเป็นพลังงาน คือ แกนกลางซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 15 ล้านองศาเซลเซียส ณ แกนกลางของดวงอาทิตย์มีระเบิดไฮโดรเจนจำนวนมาก กำลังระเบิดเป็นปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ที่ไฮโดรเจนหลอมรวมกันกลายเป็นฮีเลียม ในแต่ละวินาทีไฮโดรเจนจำนวน 4 ล้านตันกลายเป็นพลังงาน ใน 1 ปีดวงอาทิตย์เมื่อเทียบกับมวลสารของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 2 x 1027 ตัน หรือ 2,000 ล้านล้านล้านตัน หรือ 332,946 เท่าของโลกที่ผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิประมาณ 5,700 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 6,000 เคลวิน ดวงอาทิตย์จึงถูกจัดเป็นดาวฤกษ์สีเหลือง มีอายุประมาณ 5,000 ล้านปี เป็นดาวฤกษ์หลัก อยู่ในช่วงกลางของชีวิต ในอีก 5,000 ล้านปี ดวงอาทตย์จะจบ ชีวิตลงด้วยการขยายตัวแต่จะไม่ระเบิด เพราะแรงโน้มถ่วงมีมากกว่าแรงดัน ในที่สุด ดวงอาทิตย์จะยุบตัวลงอย่างสงบกลายเป็นดาวขนาดเล็ก เรียกว่า ดาวแคระขาว

ดาว พุธ (Mercury)

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดดังนั้นดาว พุธจึงร้อนจัดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลวกลางคืนดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ดวง เล็กโตกว่าดวงจันทร์ของเราเพียงเล็กน้อย ภาพถ่ายทั้งหลายที่เกี่ยวกับดาวพุธได้จากยานอวกาศที่ส่งขึ้นไปขณะเข้าไปใหล้ ดาวพุธที่สุดก็จะถ่ายภาพส่งมายังโลก ทำให้รู้ว่าพื้นผิวดาวพุธคล้ายกับผิวดวงจันทร์ ผิวดาวพุธส่วนใหญ่เป็นฝุ่นและหิน มีหลุมลึกมากมาย ไม่มีอากาศ ไม่มีน้ำ ดาวพุธจึงเป็นดาวแห้งแล้ง ดาวแห่งความตายเป็นโลกแห่งทะเลทราย ดาวพุธเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด โดยใช้เวลาเพียง 87.969 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากคาบของการหมุนรอบตัวเอง และการคาบการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ พื้นผิวของดาวพุธมีลักษณะคล้ายดวงจันทร์ โดยเฉพาะด้านไกลโลก เพราะต่างไม่มีบรรยากาศ แต่ดาวพุธมีขนาดใหญ่กว่า มีแรงโน้มถ่วงสูงกว่า ขอบหลุมบนดาวพุธจึงเตี้ยกว่าบนดวงจันทร์ ยานอวกาศที่เข้าไปเฉียดใกล้ๆ ดาวพุธและนำภาพมาต่อกันจนได้ภาพพื้นผิวดาวพุธดังกล่าวคือ ยานอวกาศมารีเนอร์ 10 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2517 นับว่าเป็นยานลำแรกและลำเดียวที่ส่งไปสำรวจดาวพุธ ยานมารีเนอร์ 10 เข้าใกล้ดาวพุธ 3 ครั้งด้วยกัน คือ เมื่อเดือนมีนาคม และ กันยายน พ.ศ. 2517 และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ยานเข้าใกล้ดาวพุธที่สุดครั้ง แรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 และได้ส่งภาพกลับมา 647 ภาพ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2517 และครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2518 ขณะนั้นเครื่องมือภายในยานได้เสื่อมสภาพลง ในที่สุดก็ติดต่อกับโลกไม่ได้ตั้งแต่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2518 ยานมารีเนอร์ 10 จึงกลายเป็นขยะอวกาศที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ โดยเข้ามาใกล้ดาวพุธครั้งคราวตามจังหวะเดิมต่อไป นอกจากดาวพุธจะมีช่วงกลางวันถึงกลางคืนยาวที่สุดแล้ว ยังมีทางโคจรที่รีมากด้วย เป็นรองเฉพาะดาวพลูโตเท่านั้น ดาวพุธมีระยะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 0.31 หน่วยดาราศาสตร์ และไกลที่สุด 0.47 หน่วยดาราศาสตร์ ทำให้ 2 ระยะนี้ แตกต่างกันถึง 0.16 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 24 ล้านกิโลเมตร นั่นหมายความว่า ถ้าไปอยู่บนดาวพุธจะเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก โดยเมื่ออยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดจะเห็นดวงอาทิตย์ใหญ่เป็น 2 เท่าครึ่งของเมื่ออยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด ซึ่งโตประมาณ 4 เท่าของที่เห็นจากโลก ในระหว่างเวลากลางวัน อุณหภูมิที่ผิวของดาวพุธช่วงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ที่สูงสุดถึง 700 เคลวิน (ประมาณ 427 องศาเซลเซียส) สูงพอที่จะละลายสังกะสีได้ แต่ในเวลากลางคืนอุณหภูมิลดต่ำลงเป็น 50 เคลวิน (-183 องศาเซลเซียส) ต่ำพอที่จะทำให้ก๊าซคริปตอนแข็งตัว การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบนพื้นผิวดาวพุธจึงรุนแรง คือร้อนจัดในเวลากลางวันและเย็นจัดในเวลากลางคืน ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดบนดวงจันทร์ของโลกเราด้วย ทั้งนี้เพราะไม่มีบรรยากาศที่จะดูดกลืนความร้อนอย่างเช่นโลก ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบร่องรอยของบรรยากาศ และพบน้ำแข็งบริเวณขั้ว ซึ่งอาจเกิดจากการชนของดาวหางบนดาวพุธ และอาจเป็นผู้ก่อกำเนิด ออกซิเจน และไฮโดรเจนบนดาวพุธ ปรากฎการณ์บนฟ้าเกี่ยวกับดาวพุธ เห็นอยู่ใกล้ขอบฟ้าเสมอ สาเหตุเป็นเพราะวงโคจรของดาวพุธเล็กกว่า วงโคจรของโลก ดาวพุธจึงปรากฏห่างจากดวงอาทิตย์ได้อย่างมากไม่เกิน 28 องศา นั่นหมายความว่า ถ้าอยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จะเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ แต่ถ้าอยู่ทางตะวันตกของดวงอาทิตย์ จะขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ จึงเห็นทางทิศตะวันออกในเวลารุ่งอรุณ และเห็นเป็นเสี้ยวในกล้องโทรทรรศน์ เนื่องจากดาวพุธไม่หันด้านสว่างทั้งหมดมาทางโลก แต่จะหันด้านสว่างเพียงบางส่วนคล้ายดวงจันทร์ข้างขึ้นหรือข้างแรม หันด้านสว่างมาทางโลก ถ้าดาวพุธหันด้านสว่างทั้งหมดมาทางโลก เราจะมองไม่เห็น เพราะดาวพุธอยู่ไปทางเดียวกันกับดวงอาทิตย์ เห็นเป็นจุดดำเล็กๆ บนพื้นผิวดวงอาทิตย์

ดาวศุกร์ (Venus)

ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุดในระบบสุริยะ บนดาวศุกร์ร้อนถึง 480 องศาเซลเซียส ความร้อนขนาดนี้มากจนทำให้ของทุกอย่างลุกแดงดาวศุกร์มีไอหมอกของกรดกำมะถัน ปกคลุมอย่างหนาแน่น ไอหมอกนี้ไม่มีวันจางหายแม้ว่าแสงอาทิตย์จะจัดจ้าเพียงไร จึงเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะไปเยี่ยมดาวศุกร์ เพราะพอไปถึงเขาจะถูกย่างจนสุกด้วยความร้อนและถูกผลักดันด้วยแรงลม เขาจะหายใจไม่ออกเพราะอากาศหนาหนักที่กดทับตัวนั้นเป็นอากาศพิษจากหมอกควัน ของกรดอากาศบนดาวศุกร์ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศโลกกว่า60เท่าผิวดาวศุกร์แห้งแล้ง เป็นหินและร้อนจัดนอกจากนี้ก็มีรอยแยกลึกและภูเขาไฟดับ ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 มีขนาดเล็กกว่าโลกเล็กน้อย จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวฝาแฝดกับโลก เป็นดาวเคราะห์ที่ปรากฏสว่างที่สุด สว่างรองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ถ้าเห็นทางทิศตะวันตกในเวลาค่ำเรียกว่า ดาวประจำเมือง และถ้าเห็นทางทิศตะวันออกในเวลาก่อนรุ่งอรุณ เรียกว่า ดาวประกายพรึก ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรุนแรง เพราะมีบรรยากาศหนาทึบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ดาวศุกร์จึงร้อนมาก อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงกว่าดาวพุธ ดาวศุกร์มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกที่สุด ใกล้กว่าดาวพุธ ซึ่งนักดาราศาสตร์ยุคโบราณเข้าใจผิดคิดว่าอยู่ใกล้โลกที่สุด ลักษณะพิเศษของดาวศุกร์คือ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และถ้าเราอยู่บนดาวศุกร์เวลา 1 วัน จะไม่ยาวเท่ากับเวลาที่ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ นี่คือลักษณะพิเศษที่ดาวศุกร์ไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงใดๆ นอกจากนี้ดาวศุกร์ยังหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ในขณะที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวศุกร์จึงหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และหมุนสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองรอบละ 243 วัน แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เพราะตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกยาวนาน 58.5 วันของโลก ดาวศุกร์เคลื่อนรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วัน 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนาน 225 วันของโลก การสำรวจดาวศุกร์โดยยานอวกาศ ยานอวกาศลำแรกที่ถ่ายภาพเมฆดาวศุกร์ได้ คือยานอวกาศของสหรัฐอเมริกา ชื่อยานมารีเนอร์ 10 เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ยานอวกาศลำแรกที่ได้ถ่ายภาพพื้นผิวดาวศุกร์ได้ คือยานอวกาศเวเนรา 9 ของรัสเซีย ซึ่งลงสัมผัสพื้นผิวของดาวศุกร์เมื่อ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ต่อมามียานอวกาศไปสำรวจดาวศุกร์อีกหลายลำ ลำล่าสุดที่ถ่ายภาพโดยอาศัยระบบเรดาร์ คือยานแมกเจลแลน เมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เมื่อ พ.ศ. 2170 โจฮันส์ เคปเลอร์ เป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่คำนวณได้ล่วงหน้าว่า จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2174 ต่อมาในปี พ.ศ. 2259 เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ ได้คำนวณการเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี พ.ศ. 2304 และ 2312 พร้อมเสนอว่า สามารถใช้ปรากฏการณ์นี้ในการวัดระยะทาง 1 หน่วยดาราศาสตร์ได้

ดาวอังคาร (Mars)


ดาวอังคารบางทีก็เรียกกันว่าดาวแดงเพราะผิวพื้นเป็นหินสีแดง หินบนดาวอังคารที่มีสีแดงก็เพราะเกิดสนิมท้องฟ้าของดาวดังคารเป็นสีชมพู เพราะฝุ่นจากหินแดงที่ว่านี้ ผิวของดาวอังคารเหมือนกับทะเลหินแดง มีก้องหินใหญ่และหลุมลึก ภูเขาสูง หุบ เหว และเนินมากมาย หนึ่งปีบนดาวอังคารเกือบเทาสองปีโลก แต่หนึ่งวันบนดาวอังคารจะนานกว่าครึ่งชั่งโมงโลกเพียงเล็กน้อยดาวอังคารมี อากาศห่อหุ้มอยู่ไม่มากและเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลมพัดแรงจัดทำให้ฝุ่นฟุ้ง ไปทั้งดวงดาว ดาวอังคารมีขนาดโตประมาณครึ่งหนึ่งของโลก ดาวอังคารอยูไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลกจึงทำให้มีบรรยากาศหนาวเย็น อุณหภูมิบนดาวดวงนี้จะต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์บนฟ้าทั้งหมด เพราะเคยมีคนเชื่อว่า มีมนุษย์อยู่บนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ดาวอังคารยังเป็นดาวเคราะห์ที่มีโอกาสเข้ามาใกล้โลกเกือบพอๆ กับดาวศุกร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะอยู่ภายใน 40 ล้านกิโลเมตร เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังแยกภาพสูงสุด ส่องดาวอังคารขณะอยู่ใกล้โลกที่สุด จะเห็นรายละเอียดได้ถึง 150 กิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับการเห็นริ้วรอยบนดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ที่กำลังแยกภาพขนาดนี้จะไม่เห็นรายละเอียดของพื้นผิว เช่นไม่เห็นภูเขาหรือหุบเหว หรือหลุมบ่อของดาวอังคาร แต่จะเห็นโครงสร้างใหญ่ๆ เช่นขั้วน้ำแข็งสีขาว หรือริ้วรอยสีคล้ำซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลของดาวอังคาร สาเหตุที่มีผู้เชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่บนดาวอังคาร เนื่องจากนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ จิโอวานนี ชิอาพาเรลลี รายงานเมื่อ พ.ศ. 2420 ว่าเขาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่งพบร่องที่เป็นเส้นตรงจำนวนมากบนพื้นผิว และเรียกเป็นภาษาอิตาลีว่า คานาลี (canale) ซึ่งมีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า channel (ช่องหรือทาง) แต่คนอังกฤษเอาไปแปลว่า canal (คลอง) อันเป็นสิ่งซึ่งต้องขุดสร้างขึ้น ผู้ขุดสร้างคลองบนดาวอังคารจึงต้องเป็นมนุษย์ดาวอังคาร เพื่อนำน้ำจากขั้วมายังบริเวณศูนย์สูตรสำหรับการเพาะปลูก จุดนี้เองที่นำไปสู่การเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เชื่อว่ามีมนุษย์ดาวอังคาร ซึ่งจะเดินทางมาบุกโลก ผู้ที่สนับสนุกความคิดเรื่องมนุษย์ดาวอังคารสร้างคลองส่งน้ำเพื่อการเพาะ ปลูก คือ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ นักดาราศาสตร์อเมริกันและเป็นสมาชิกของครอบครัวที่มั่งคั่งในรัฐแอริโซนา เขาได้ทำแผนที่แสดงคลองต่างๆ บนดาวอังคาร แต่ต่อมามีนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพที่ดีกว่า ตรวจไม่พบคลองบนดาวอังคาร แต่ชาวบ้านทั่วไปยังฝังใจเชื่ออยู่ จนกระทั่งถึงยุคอวกาศจึงปรากฏชัดว่าไม่มีคลองบนดาวอังคารแน่นอน พื้นผิวดาวอังคารมีหลุมบ่อ หุบเหว ภูเขา และมีปล่องภูเขาไฟ มีร่องเหมือนเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ดังจะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อการสำรวจดาวอังคารโดยยานอวกาศ ยานอวกาศลำแรกที่ประสบความสำเร็จในการผ่านใกล้ดาวอังคาร คือ ยานมารีเนอร์ 4 ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ภาพที่ถ่ายทอดกลับมาจำนวน 22 ภาพแสดงให้เห็นว่าพื้นผิวดาวอังคารมีหลุมและบ่อมากมาย ยานอวกาศมารีเนอร์อีกหลายลำต่อมา สามารถถ่ายภาพพื้นผิวรวมกันแล้วได้ครบทั่วทุกบริเวณ โดยเห็นภาพละเอียดถึง 1 กิโลเมตร ภาพถ่ายเหล่านี้ช่วยให้นักภูมิศาสตร์ทำแผนที่ของดาวอังคารได้ทั้งดวง บนพื้นผิวของดาวอังคารจึงพบการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางธรณีวิทยา เช่น ปล่องภูเขาไฟ หุบเหวกว้างและลึกร่องที่เหมือนกับร่องน้ำที่เคยเป็นทางน้ำไหลมาก่อน ยานที่สำรวจดาวอังคารต่อจากยานมารีเนอร์ คือ ยานไวกิง 2 ลำ แต่ละลำประกอบด้วยยานลำแม่ที่เคลื่อนรอบดาวอังคาร ในขณะที่ส่งยานลูกลงสัมผัสพื้นผิวดาวอังคาร ยานไวกิง 1 ลงที่ไครส์ พลาทิเนีย (Chryse Planitia) ซึ่งแปลว่า ที่ราบแห่งทองคำ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เป็นเวลา 7 ปีหลังจากที่ นีล อาร์มสตรอง เหยียบดวงจันทร์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ยานไวกิง 2 ก็ลงในที่ราบทางเหนือชือที่ราบยูโทเปีย (Utopia) ยานทั้งสองมีแขนกลยื่นออกไปตักดินบนดาวอังคารมาวิเคราะห์ภายในยาน เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิต หรือซากของสิ่งมีชีวิต แต่การวิเคราะห์ไม่ยืนยันว่ามีหรือเคยมีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร ต่อจากยานไวกิงคือ ยานมาร์สพาธไฟเดอร์ ที่นำรถโซเจนเนอร์ไปด้วย ยานได้ลงบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2540 ภาพที่น่าตื่นเต้นคือการติดตามรถคันเล็กๆ เคลื่อนที่สำรวจก้อนหินใกล้ฐานซึ่ง ต่อมาได้รับชื่อว่า ฐานเซแกน ภาพก้อนหินที่เรียงในทิศทางเดียวกันชี้ให้ เห็นว่าบนดาวอังคารเคยมีน้ำไหลมาก่อน ล่าสุดยานมาร์สโกลบอล เซอร์เวเยอร์ ซึ่งกำลังเคลื่อนรอบดาวอังคารได้ส่งภาพหุบเหวที่เป็นร่องลึกหรือที่เรียกว่า แคนยอน ซึ่งคดเคี้ยวไปมา ในอนาคตสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น มีโครงการที่จะส่งยานอวกาศไปเก็บดินจากดาวอังคารกลับมาวิเคราะห์ในห้อง ปฏิบัติการบนโลก และอีกไม่นานมนุษย์จะเดินทางไปดาวอังคารเช่นเดียวกับการลงบนดวงจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2512

ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ เพราะมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11.2 เท่า นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ก๊าซ เพราะมีองค์ประกอบเป็นก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมคล้ายในดวงอาทิตย์ ความหนาแน่นของดาวพฤหัสบดีจึงต่ำ (1.33 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์ จะเห็นเป็นดวงกลมโตกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ พร้อมสังเกตเห็นบริวาร 4 ดวงใหญ่เรียงกันอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรด้วย กาลิเลโอเป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่ใช้กล้องส่องพบบริวารสี่ดวงใหญ่นี้ จึงได้รับเกียรติว่าเป็นดวงจันทร์ของกาลิเลโอ ความเป็นที่สุดของดาวพฤหัสบดี ใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหลาย โดยมีเส้นผ่านศุนย์กลางเป็น 11.2 เท่าของโลก ขนาดเชิงมุมใหญ่ที่สุดเท่ากับ 50.0 ฟิลิปดา มีมวลสารมากที่สุดโดยมีเนื้อสารเป็น 318 เท่าของโลก หรือ 2.5 เท่าของดาวเคราะห์อื่นและบริวารรวมกัน มีปริมาตรมากที่สุด ถ้าดาวพฤหัสบดีกลวงจะสามารถจุโลกได้ 1,430 โลก หมุนรอบตัวเองเร็วที่สุด โดยใช้เวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมงในการ หมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ดังนั้น 1 วันบนดาวพฤหัสบดีจึงสั้นที่สุดด้วย การหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วของดาวเคราะห์ ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีออกจากจุดศูนย์กลาง ดาวพฤหัสบดีจึงโป่งออกบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสามารถสังเกตได้แม้ในรูปขนาดเล็ก มีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่ผิวมากที่สุด โดยมีค่าเป็น 2.53 เท่าของโลก นั่นหมายความว่าถ้าเราอยู่บนดาวพฤหัสบดีเราจะหนักเป็น 2.53 เท่าของน้ำหนักบนโลก มีความเร็วของการผละหนีที่ผิวมากที่สุด (60 กิโลเมตรต่อวินาที เทียบกับ 11.2 กิโลเมตรต่อวินาทีที่ผิวโลก) ดังนั้นก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ จึงไม่สามารถหนีจากดาวพฤหัสบดีได้ เป็นราชาแห่งดาวเคราะห์เพราะความเป็นที่สุดดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ยังเป็นระบบสุริยะย่อยๆ เพราะมีบริวารอย่างน้อย 16 ดวง เคลื่อนไปรอบๆ คล้ายดวงอาทิตย์ที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบ 9 ดวง สมบัติอื่นๆ ของดาวพฤหัสบดีคือ มีจุดแดงใหญ่อยู่ที่ละติจูด 22 องศา มีขนาดโตกว่า 3 เท่าของโลก จุดแดงใหญ่เป็นพายุหมุนที่เกิดในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี สังเกตุพบครั้งแรกโดย รอเบิร์ด ฮุค เมื่อ พ.ศ. 2207 และแคสสินี ในปีพ.ศ. 2208 จุดแดงใหญ่มีอายุอยู่ได้นานเพราะมีขนาดใหญ่ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และไม่มีใครบอกได้ว่าจุดแดงใหญ่จะหายไปเมื่อใด มีแถบและเข็มขัดขนานกันในแนวเส้นศูนย์สูตร เมื่อดูจากภาพถ่ายหรือดูในกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง จะเห็นแถบกว้างหลายแถบ ระหว่างแถบมีร่องลึกคล้ายแข็มขัดหลายเส้น เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี

ดาวเสาร์ (Saturn)

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความสวยงาม จากวงแหวนที่ล้อมรอบ เมื่อดูในกล้องโทรทรรศน์จะเห็นวงแหวน ซึ่งทำให้ดาวเสาร์มีลักษณะแปลกกว่าดาวดวงอื่นๆ ดาวเสาร์มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ก๊าซที่มีลมพายุพัดแรงความเร็วถึง 1,125 ไมล์ต่อชั่วโมง มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัสบดี ถ้านับวงแหวนเข้าไปด้วย จะมีขนาดเท่าดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด กล่าวคือมีความหนาแน่นเพียง 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์ เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ ดังนั้นหากมีน้ำจำนวนมากรองรับ ดาวเสาร์ก็จะลอยน้ำได้ เนื่องจากดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2 เท่าของระยะดาวพฤหัสบดีจากดวงอาทิตย์ จึงใช้เวลานานเกือบ 30 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แต่ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก จึงทำให้โป่งออกทางด้านข้างมากกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่น สามารถสังเกตได้แม้ในภาพถ่ายขนาดเล็กวงแหวนของดาวเสาร์เป็นก้อนหินและน้ำ แข็งสกปรก กล่าวคือ น้ำแข็งช่วยยึดฝุ่นและก้อนหินสกปรกเข้าด้วยกัน ก้อนน้ำแข็งสกปรกมีขนาดต่างๆ กัน และมีเป็นจำนวนมาก น้ำแข็งสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้ดี เราจึงเห็นวงแหวนชัดเจน วงแหวนบางมาก และประกอบด้วยวงแหวนจำนวนหลายพันวง แต่สังเกตได้จากโลกเห็นเป็นชั้นๆ ชั้นนอกสุด เรียกว่า วงแหวน A วงสว่างที่สุดอยู่ใกล้ดาวเสาร์เรียกว่า วงแหวน B ช่องว่างระหว่างวงแหวนทั้งสองนี้เรียกว่า ช่องแคสสินี (Cassini Division) ซึ่งตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวอิตาลิ Giovani Cassini ซึ่งพบวงแหวนนี้เป็นคนแรกในปี 1675 ภายในวงแหวน B มีวงแหวนที่ไม่สว่างชื่อวงแหวน C ภาพจากการถ่ายของยานไพโอเนียร์และวอยาเจอร์แสดงให้เห็นว่า มีวงแหวนมากกว่าสามวง คือมีวงแหวน D ซึ่งมองเห็นเลือนๆ นอกจากนี้ยังมีวงแหวนชั้นนอกที่มีลักษณะแคบๆ เรียกว่าวงแหวน F และวงแหวน G ด้านหลังของวงแหวนทั้งสองนี้เป็นวงแหวนขนาดกว้าง แต่มีความเลือนคือ วงแหวน E วงแหวนทั้งหมดจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 375,000 ไมล์ วงแหวนแต่ละวงบางมากเมื่อเทียบกับความกว้าง เปรียจประดุจดังแผ่นกระดาษ ดังนั้นเมื่อด้านข้างของวงแหวนหันมาทางโลก เราจึงมองไม่เห็นวงแหวนของดาวเสาร์ วงแหวนดาวเสาร์เอียงจากระนาบทางโคจรของดาวเสาร์รอบดวงอาทิตย์เป็นมุม 27 องศา เมื่อดูจากโลกจึงเห็นวงแหวนไม่เหมือนกันในแต่ละตำแหน่ง ถ้าวงแหวนหันด้านข้างมาทางโลกเราจะมองไม่เห็นวงแหวนเลย แต่จะเห็นเป็นเส้นสีดำพาดผ่านดาวเสาร์ ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 และวอยเอเจอร์ 2 ที่ผ่านเฉียดดาวเสาร์พบว่า วงแหวนของดาวเสาร์ด้านที่ได้รับแสงแดดมีอุณหภูมิ -180 องศาเซลเซียส ส่วนด้านมืดอุณหภูมิต่ำกว่านี้เป็น -200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำขนาดนี้น้ำแข็งจะไม่ระเหยหรือกลายเป็นไอเลย วงแหวนที่เห็นจากโลกเป็น 3 ชั้นนั้น แท้ที่จริงประกอบด้วยวงแหวนเล็กๆ จำนวนเป็นล้านๆ วง วงแหวนก่อรูปร่างอย่างไรและเมื่อไร? วงแหวน C และ B ได้ก่อตัวเมื่อดาวเสาร์หรือดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะเริ่มเกิดขึ้น ดาวเคราะห์ก่อตัวด้วยแก๊ซและอนุภาคที่ลอยในอวกาศ วงแหวนอาจก่อตัวโดยอนุภาคน้ำแข็งที่ตกค้าง วงแหวน A อาจเป็นเศษที่เหลือของดาวบริวารที่เป็นน้ำแข็งของดาวเสาร์ ประมาณ 10 ล้านปีมาแล้ว ดวงจันทร์อาจแตกแยกออกจากกัน ชิ้นส่วนทั้งหมดของดวงจันทร์อาจกระจัดกระจายเป็นวงแหวนกว้าง ในขณะที่มันหมุนรอบดาวเคราะห์


ดาวยูเรนัส (Uranus)
ดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงต่อไปถัดจากดาวเสาร์ได้แก่ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มันมีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น เราเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ ในปี 1781 William Herschel ได้ใช้กล้องโทรทัศน์ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ เขาเห็นแผ่นกลมสีเขียวที่ไม่มีรอย ต่อมา นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารห้าดวง ในปี 1977 ได้มีการพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่านักดาราศาสตร์จะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด แต่เขาก็ยังไม่สามารถค้นหาอะไรได้มากมายนักเกี่ยวกับดาวยูเรนัสเอง ในปี 1986 ยานอวกาศวอยาเจอร์2 ได้บินผ่านดาวยูเรนัสและได้ส่งภาพที่ชัดเจนของดาวยูเรนัส และวงแหวนตลอดจนดาวบริวารของมันกลับมายังพื้นโลก ในที่สุดเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยว

ดาวบริวารที่ประหลาด
ยานวอยาเจอร์ยังพบดาวบริวารขนาดเล็กสิบดวงที่อยู่รอบดาวยูเรนัสซึ่งไม่เคย พบมาก่อน ทั้งหมดหมุนรอบๆระหว่างวงแหวนและดาวมิแรนดา มิแรนดาเป็นดาวที่อยู่ใกล้ที่สุดของบรรดาดาวทั้งห้าดวงซึ่งเป็นที่รู้จักกัน มาก่อนแล้ว ดาวบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำแข็งและหิน เป็นดาวบริวารที่แปลกประหลาดที่สุดในระบบสุริยะ ดาวบริวารของดาวยูเรนัสมีหย่อมขนาดใหญ่สีขาวและสีดำ ซึ่งอาจเกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำแข็งและแก๊ซแข็ง มีหุบเขาลึกและภูเขาสูงด้วยเช่นเดียวกัน บนดาวมิแรนดาจะมีหน้าผาสูงสิบสองไมล์ นักดาราศาสตร์คิดว่าครั้งหนึ่งมิแรนดาอาจแตกเป็นส่วนๆต่อมา ชิ้นส่วนเหล่านี้กลับเข้ามาประกบอีกเหมือนก่อน กับดาว


ดาว เนปจูน (Neptune)

เมื่อดาวยูเรนัสถูกค้นพบ คนได้วันเส้นทางของมันผ่านอวกาศ การหมุนรอบของดาวยูเรนัสมีลักษณะผิดปกติบางคนคิดว่าจะต้องมีดาวเคราะห์ดวง ใหญ่อีกดวงหนึ่ง ดาวเคราะห์ที่ไม่เป็นที่รู้จักอาจอยู่ถัดจากดาวยูเรนัส แรงโน้มถ่วงของมันอาจจะดึงไปที่ดาวยูเรนัสจึงทำให้การหมุนของมันเปลี่ยนแปลง ในปี 1845 นักดาราศาสตร์สองคนที่ทำงานคนละที่ในอังกฤษและฝรั่งเศสรู้ว่าดาวเคราะห์ดวง ใหม่อยู่ที่ใหน ทั้งสองมีความเห็นตรงกัน คนอื่นๆก็เริ่มลงมือศึกษาดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ ในปี 1846 ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle ได้พบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ มันอยู่ในตำแหน่งที่นักดาราศาสตร์คนอื่นได้ระบุไว้ก่อนแล้ว ดาวเคราะห์ดวงใหม่มีสีน้ำเงินมีชื่อว่าดาวเนปจูนตามชื่อเทพเจ้าแห่งทะเล โรมัน ดาวเนปจูนโตเกือบเท่าดาวยูเรนัส มันเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ มันอยู่ห่างไกลจากโลกมาก จึงทำให้มองเห็นสลัวมาก ดาวเนปจูนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา มันดูคล้ายกับดาวฤกษ์ ยังไม่มียานอวกาศที่เคยไปยังดาวเนปจูน สิ่งที่เรารู้ทั้งหมดก็คือ ดาวเคราะห์ดวงนี้มองเห็นจากโลกก็เหมือนกับดาวยูเรนัส มีมหาสมุทร น้ำที่ลึกล้อมรอบแกนหินซึ่งอยู่ใจกลางของดาวเนปจูน บรรยากาศของดาวเนปจูนไม่เต็มไปด้วยหมอกเหมือนกับดาวยูเรนัส กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่แสดงให้เห็นแถบกลุ่มควันขาวที่หมุนรอบดาวเนปจูน บรรยากาศจะเย็นมาก กลุ่มควันประกอบด้วยมีเทนที่แข็ง บางครั้งกลุ่มควันเหล่านี้จะกระจายออกและปกคลุมดาวเนปจูนทั้งดวง อาจมีลมพัดจัดบนดาวเนปจูน ลมเกิดจากอากาศร้อนที่ลอยขึ้น ลมเย็นพัดเข้าไปแทนที่ บนดาวเนปจูน ความร้อนต้องมาจากภายในเพื่อทำให้ลมพัด ในเดือนสิงหาคม ปี 1989 ยานวอเยเจอร์ 2 ได้ไปถึงดาวเนปจูน มันบินผ่านและส่งภาพและการวัดกลับมายังพื้นโลกเราคงมีความรู้มากขึ้นเกี่ยว กับดาวเนปจูน ต่อจากนั้น ยานวอเยเจอร์ 2 จะบินออกจากระบบสุริยะตั้งแต่ได้ออกจากโลกไปในปี 1977 ยานอวกาศจะบินผ่านดาวเคราะห์ชั้นนอกสี่ดวง ยังไม่มียานลำใดที่ได้ไปยังดาวเคราะห์ต่างๆมากเหมือนยานวอยาเจอร์